Hetalia: Axis Powers - Liechtenstein LuckYimm-Channel : 3 เทคนิคอ่าน “แนวรับ-แนวต้าน” ให้แม่นด้วย Price Action

3 เทคนิคอ่าน “แนวรับ-แนวต้าน” ให้แม่นด้วย Price Action

 

แนวรับ-แนวต้าน รู้ไปช่วยให้เราได้กำไรหรอ ?

ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินคำว่า “แนวรับ-แนวต้าน” กันมาแล้ว เพราะ ในข่าวการเงินที่รายงานเกี่ยวกับตลาดหุ้น หรือ ตลาดต่างประเทศ ที่มีนักวิเคราะห์ออกมาวิเคราะห์ตลาดจะพูดถึง แนวรับ-แนวต้าน เสมอ หรือไม่ ก็ต้องเคยอ่านเจอในหนังสือการวิเคราะห์ทางเทคนิคกันมาบ้าง สงสัยกันไหมครับว่ารู้ไปทำไม ? รู้ไปแล้วเราได้กำไรหรอ ? ผมขอบอกตรงนี้เลยครับว่า…ใช่ครับ!! รู้แล้วได้กำไร 

 
ผมกล้าบอกเลยว่า ถ้า Price Action Trader อย่างเรา ๆ ไม่รู้จัก แนวรับ-แนวต้าน ไม่มีทางเทรดได้กำไรแน่นอน จริง ๆ ต้องบอกว่า ต้องไม่ใช่แค่รู้เท่านั้นครับ แต่ต้องใช้อย่างโชกโชนกันเลยทีเดียว!! เพราะอะไรรู้ไหมครับ…เพราะ แนวรับ-แนวต้าน นี่แหละ ตัวเพิ่มความแม่นชั้นดี ให้กับ Price Action Signal ของเราเลย แถมยังเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายเรื่อง Trend อีกด้วย เพราะ Trend จะอยู่ หรือ Trend จะไป ขึ้นกับราคาที่ Action กับ แนวรับ-แนวต้านนี่แหละ!! เห็นแบบนี้พอจะรู้หรือยังครับ ทำไมมันถึงสำคัญนัก ถ้างั้นเราไปดู 3 เทคนิคการอ่าน “แนวรับ-แนวต้าน” ให้แม่นด้วย Price Action กันครับ
ก่อนจะไปพบกับ 3 เทคนิคการอ่านแนวรับ-แนวต้าน หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ สามารถ Comment บอกความรู้สึก หรือ สิ่งที่ได้รับจากบทความ หรือ Share ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านสิ่งดี ๆ ที่คุณอ่าน ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ  

เทคนิคที่ 1 : รู้จัก Swing High/Swing Low

  • Swing High คือ จุดที่ราคาขึ้นสูงสุดในช่วงเวลานั้น ส่วน Swing Low ก็คือ จุดที่ราคาลงต่ำสุดในช่วงเวลานั้น
  • Swing High กับ Swing Low จะเรียกย่อ ๆ ว่า High กับ Low ก็ได้ (คนละอย่างกับ High และ Low ในกราฟแท่งเทียน)
  • Swing High และ Swing Low จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อ มีแท่งเทียนประกอบกันหลาย ๆ แท่ง (มากกว่า 3 แท่ง)
  • ทำไมจุดเหล่านี้จึงเกิดขึ้น ? ในขาขึ้น ผู้คนในตลาดเห็นว่าราคาขึ้นมาในจุดที่ควรขายแล้ว จึงขายออก ทำให้ราคาที่ก่อนหน้าวิ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ วิ่งต่ำลง ในขาลง ลักษณะการเกิดจะเหมือนกัน ต่างกันที่เป็นแรงซื้อ (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
  • แนวโน้มเกิดจาก Swing High และ Swing Low มาประกอบกัน และที่สำคัญ แนวรับ-แนวต้าน ก็เกิดจากจุด 2 จุดนี้ด้วย
  • วิธีดูแนวรับ : ให้ดูที่ราคาล่าสุดแล้วมองย้อนกลับไป ถ้าเจอ Swing Low ก่อนหน้า Swing Low นี้จะเท่ากับ แนวรับ
  • แนวรับเป็นจุดที่ผู้คนเห็นว่าราคาไม่ควรลงไปมากกว่านี้ จึงทำการซื้อพยุงไว้ เป็นจุดที่มี Demand เข้ามา เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำลงจากราคาที่พวกเขาคิดไว้
  • ดังนั้น จะเห็นว่า พอราคาวิ่งต่ำลงมาที่แนวรับ ราคามักจะเด้งกลับขึ้นมาเสมอ เราเรียก พฤติกรรมนี้ว่า “ราคาไม่หลุดแนวรับ” หรือ “แนวรับ รับอยู่” (Support Hold)
  • วิธีดูแนวต้าน : ให้ดูที่ราคาล่าสุดแล้วมองย้อนกลับไป ถ้าเจอ Swing High ก่อนหน้า Swing High นี้จะเท่ากับ แนวต้าน
  • แนวต้านเป็นจุดที่ผู้คนเห็นว่าราคาไม่ควรขึ้นไปมากกว่านี้ จึงทำการขายกดเอาไว้ เป็นจุดที่มี Supply เข้ามา เพื่อกดราคาไม่ให้สูงขึ้นจากราคาที่พวกเขาคิดไว้
  • ดังนั้น จะเห็นว่า พอราคาวิ่งสูงขึ้นมาที่แนวต้าน ราคามักจะเด้งกลับลงมาเสมอ เราเรียก พฤติกรรมนี้ว่า “ราคาไม่ผ่านแนวต้าน” หรือ “แนวต้าน ต้านอยู่” (Resistance Hold)
  • เพื่อให้เห็นภาพ แนวรับ-แนวต้าน ชัดเจน ดูรูปด้านล่างประกอบ

  • ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นหลักการหา แนวรับ-แนวต้าน เบื้องต้น ในสถานการณ์จริง ราคาสามารถวิ่งทะลุแนวต้าน หรือ วิ่งหลุดแนวรับได้ทุกเมื่อ ซึ่งเมื่อราคาวิ่งทะลุแนวต้าน หรือ หลุดแนวรับ จะเกิดพฤติกกรรมสำคัญ 2 พฤติกรรม
  • พฤติกรรมแรกเรียกว่า “แนวต้านกลายเป็นแนวรับ” เกิดเมื่อราคาวิ่งทะลุแนวต้านขึ้นไปได้
  • พฤติกรรมที่สองเรียกว่า “แนวรับกลายเป็นแนวต้าน” เกิดเมื่อราคาวิ่งหลุดแนวรับไปได้
  • 2 พฤติกกรรมนี้ เป็นพฤติกรรมที่ผมอยากให้ทุกท่านจำให้ขึ้นใจเลยครับ เพราะ จากประสบการณ์การเทรดของผม 2 พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นตลอดในตลาด Forex 
  • เทคนิคการดูแนวรับ-แนวต้านที่ผมให้ทุกท่านนี้ เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ทุกตลาด และ ทุก Time Frame ครับ!!
  • เพื่ออธิบาย พฤติกรรมทั้ง 2 ให้ชัด ดูที่รูปด้านล่างประกอบได้เลยครับ



เทคนิคที่ 2 : หา Key Support/Key Resistance ให้เป็น 

  • Key Support แปลเป็นไทย คือ แนวรับหลัก และ Key Resistance แปลเป็นไทย คือ แนวต้านหลัก เรียกรวมกันว่า Key Levels
  • สำหรับ Price Action Trader 2 สิ่งนี้หาได้จาก การดูแนวรับ-แนวต้าน ใน Time Frame (TF) Week ครับ
  • วิธีการก็คือ ปรับ Chart ใน MT4 ไปที่ TF Week จากนั้นดู จุดที่เกิด Swing High และ Swing Low รวมทั้งราคาล่าสุด จุดที่เป็น Swing High และ Swing Low ใน TF Week นี้แหละครับ คือ Key Resistance และ Key Support (ดูรูปด้านล่างประกอบ)

  • หลักการทุกอย่างเหมือนกับในเทคนิคที่ 1 ที่ผมเขียนไว้ ต่างกันที่เราจะดู Key Support/Key Resistance ใน TF Week
  • สาเหตุที่ Price Action อย่างเรา ๆ ต้องดู Key Levels ใน TF Week นั่นก็เพราะ Price Action Trader จะเน้นเทรดใน Time Frame Day เป็นหลัก การดู Key Levels เราจึงดูใน TF ที่สูงกว่า เพราะ TF ที่สูงกว่านั้นจะให้จุดที่มีนัยสำคัญมากกว่า สัญญาณจากแท่งเทียนที่เกิดบริเวณ Key Levels จะมีความแม่นยำมากกว่า แท่งเทียนที่เกิดบริเวณ แนวรับ-แนวต้าน ใน TF เล็ก ๆ

เทคนิคที่ 3 : หา Levels ใน Time Frame Day ให้เป็น 

  • เมื่อเรารู้เทคนิคการหา แนวรับ-แนวต้าน เป็นแล้ว การหา แนวรับ-แนวต้าน ใน TF Day ก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ เพราะ หลักการนั้นเหมือนกับในเทคนิคที่ 1 และ เทคนิคที่ 2 เลย ต่างกันที่ TF ที่ใช้เท่านั้น
  • การหา Key Levels ในเทคนิคที่ 2 เปรียบเสมือนการทำแผนที่ตลาด เพื่อดูว่าจะถึงจุดยุทธศาสตร์แล้วหรือยัง เพราะ แนวรับ-แนวต้าน ที่เกิดใน Week มักจะมีความแข็งแกร่งกว่าทุก TF
  • ดังนั้น หาก Price Action Signal ไปเกิดบริเวณนั้น เราต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งครับ และสิ่งสำคัญคือ อย่าไปทำอะไรสวน Signal ในระดับ TF Week (ผมไม่ได้บอกให้เทรดในระดับ Week นะครับ เพราะ มันนานเกินไป)
  • เราหา Levels ใน Time Frame Day เพื่อดูภาพปัจจุบันครับ เพราะ อย่างที่กล่าวไว้ เราจะเน้นการเทรดที่ TF Day เปรียบเหมือนการดูหน้างานว่า ณ ตอนนั้นตลาด Action อย่างไร และ เราควรตอบสนองอย่างไรกับตลาด
  • สิ่งที่สำคัญก็คือ การหา Levels ใน Time Frame Day จะช่วยให้ Price Action Trader อย่างเรา ๆ สามารถหาจุด Stop Loss และ จุดออก (Exit Point) ได้อีกด้วยครับ
  • เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ดูรูปด้านล่างประกอบได้เลยครับ


สรุป ผมต้องการจะชี้ให้เห็นว่า แนวรับ-แนวต้าน (Levels) นั้นสำคัญอย่างไร และ ต้องดูตรงไหน อย่างที่ทุกท่านได้อ่านไปทั้ง 3 เทคนิคด้านบน จะเห็นว่า แนวรับ-แนวต้าน นั้นสำคัญอย่างมากสำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ เพราะ Levels นี่แหละครับ จะเป็นตัวบอกเราว่า เราควรเปิด Order ตอนไหน  อีกทั้งยังเป็นตัวเพิ่มความแม่นยำให้กับ Price Action Signal ที่เกิดขึ้นด้วย
ดังนั้น ผมอยากให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน 3 เทคนิคนี้ นำเทคนิคที่ผมให้ไว้ไปทดลองใช้กันดูครับ เพราะ มันจะช่วยให้เงินในพอร์ตของทุกท่านเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน หลักการหา Levels ทั้ง 3 เทคนิคนี้เป็นเทคนิคสากลที่ใช้ได้กับทุกตลาดนะครับ ไม่เฉพาะกับตลาด Forex เท่านั้น แปลว่า เข้าใจครั้งเดียวเอาไปใช้ได้ทุกตลาด สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่อ่าน Znipertrade โชคดีมีกำไรกันทุกคนนะครับ
Comment บอกความรู้สึก หรือ สิ่งที่ได้รับจากบทความ หรือ Share ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านสิ่งดี ๆ ที่คุณอ่าน ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

 Credit: http://www.znipertrade.com/strategies/support-resistance/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ตารางค่าเฉลี่ย Volatility (Pips)